- Category: ครูนอกบ้าน
การเติบโตของฉันตลอดการฝึกงาน
ครั้งแรกที่ได้ยินเสียงนักเรียนเรียกว่า “คุณครู” วินาทีที่ดวงตานับสิบจับจ้องมาที่ตัวเรา หัวเราะ ยิ้มให้ หรือแม้กระทั่งไม่สนใจใยดี ฯลฯ สารพัดที่พบเจอ...
การเริ่มต้นฝึกสอนในครั้งแรกของชีวิต ฉันได้ตัดสินใจที่จะไปฝึก ณ ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา มูลนิธิกระจกเงา สํานักงานฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนนานาชาติแห่งนี้ เนื่องจากมีนักเรียนหลากหลาย เชื้อชาติ จากหลายภูมิลําเนา ทั้งน้อง ๆ ชาวไทย น้อง ๆ ชาวไทใหญ่ ซึ่งถือชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และน้อง ๆ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ติดตามคุณพ่อ และคุณแม่ ซึ่งมาทํางานในไร่ส้ม ซึ่งฉันคิดว่าต้องได้สอนหนังสือ ให้แก่เด็กนักเรียนเหล่านี้อย่างแน่นอน
เปิดเทอมวันแรก กับการเริ่มต้นฝึกสอนในครั้งแรกของชีวิต ได้รับการต้อนรับจากคุณครู บุคลากร เป็นผู้ชี้แนะและให้คําปรึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สังคม และความเป็นอยู่ของที่นี่ ได้ทําหน้าที่ครู สอนหนังสือเด็ก ๆ ควบคู่กับทําหน้าที่ผู้พิพากษา ตัดสินคดีในชั้นเรียน ว่าคนนั้นแกล้งผม คนนี้ตีหนู แต่แล้วต่างก็สามารถจัดการปัญหาน้อยใหญ่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งตําราวิชาการ เพราะฉันมีสิ่งที่สะสม สั่งสม นั่นคือ “ประสบการณ์”
ตลอดระยะเวลาสี่เดือนกว่า กับการเพิ่มประสบการณ์ชีวิต เป็นมากกว่าการฝึกงาน คือการได้ทํางานจริง ๆ ภายในองค์กร การทํางานควบคู่กันในหลาย ๆ ด้าน และหลาย ๆ งานร่วมกัน การกล้าตัดสินใจในบางงานเพื่อ จะได้ไปต่อในอีกงานที่ใหญ่กว่า เป็นการทํางานหินมาก และสร้างความกดดันต่อตัวเองอย่างไม่น้อย แต่พี่ ๆ ครู หรือแม้กระทั่งองค์กรก็ยังเชื่อใจและไว้ใจให้ลงมือทํา เป็นการทํางานที่ท้าทายมาก แต่ผลผลิตก็เป็นที่น่าภูมิใจ อย่างมากเช่นกัน ดีใจและภูมิใจที่ตัวเองสามารถทํางานให้กับองค์กรได้อย่างจริง ๆ
สุดท้ายนี้ขอบคุณพี่ ๆ ครูทุกคน ที่คอยพรำ่สอนการทํางาน ความรับผิดชอบในหน้าที่ คอยดูแลเป็นอย่างดี สร้างพื้นที่ความทรงจําที่มิอาจลืมและขอบคุณที่ทําให้รู้จักการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต
“สิ่งใดบอกได้ ให้บอกอย่างหมดเปลือก สิ่งใดสอนได้ ให้สอนอย่างเปิดใจ สิ่งใดตําหนิได้ ให้ตําหนิด้วยความรัก”
นางสาวอัสรีนา เจ๊ะเง๊าะ (ครูนีน่า)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งอยู่ ในพื้นที่บ้านหล่ายฝาง ต.แม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ กิจกรรมส่วนใหญ่ เน้นไปในทางการทำงาน และจัดกิจกรรมด้านการศึกษา และการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน กิจกรรมอาสาไร่ส้ม เกิดขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันของสังคมไทยเรานั้น ยังมีกลุ่มคนอีกจำนวนไม่น้อยในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย ที่ยังเป็นพื้นที่ๆ ประสบกับความขาดแคลนในด้านต่างๆ ในหลายๆด้าน ทั้งทางด้านปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิต และทางด้านการศึกษาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการขาดแคลนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหา และภาระให้แก่สังคมไทยเรา เราได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ ฉะนั้นกิจกรรมครูนอกบ้านจึงได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยแบ่งเบาภาระทางสังคมเหล่านี้ โดยกิจกรรม จะมุ่งเน้นไปในการที่จะช่วยกันระดมกลุ่มคนซึ่งอยู่ในมุมต่างๆ ของสังคมที่มีโอกาสดีกว่าพวกเขาเหล่านั้น มาเป็น “ครูอาสา” เพื่อให้ได้เข้ามาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมที่จะช่วยกันพัฒนาชุมชนชนบทในพื้นที่เหล่านั้น อาสาสมัครเหล่านี้ซึ่งนอกจากจะได้ร่วมกันทำประโยชน์ต่อชาวบ้านแล้ว พวกเขาก็ยังได้จะได้รับประโยชน์จากการเข้ามีส่วนร่วมอีกมากมา กล่าวคือจะปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ช่วยกันแบ่งปันสิ่งที่ดีๆ มีความสมานสามัคคี มีจิตใจที่เป็นความเป็น “จิตอาสา ความเป็นคนอาสา ” กล่าวคือเป็นผู้ที่คิดที่จะเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ด้วยเหตุนี้ทางโครงการจะจัดให้อาสาสมัครเหล่านั้น ได้เข้าไปใช้ชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันชาวบ้าน ไปขออาศัยพักพิงในบ้านของชาวบ้าน ได้มีกิจกรรมร่วมต่างๆ ร่วมกับชาวบ้านที่นั้น โดยจะให้ความสำคัญเน้นหนักไปในกลุ่มของเด็กๆ และเยาชน โดยจะให้มีการใช้ชีวิตอยู่กับเด็กๆ และชาวบ้านชาวเขาที่นั้น เพื่อจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านของแต่ละชนเผ่าที่มีสืบเนื่องกันมาช้านาน ได้ศึกษาวิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ จากการที่อาสาสมัครเหล่านั้นได้เข้าไปพักพิงอาศัยอยู่นั่นเอง และในขณะเดียวกันก็สร้างสัมพันธ์ ความสมานสามัคคีกันขึ้นระหว่างชาวบ้านกับอาสาสมัครเหล่านั้นด้วย โดยครูอาสาจะนำความรู้ที่ตนมีเข้าไปสอนเด็กๆ เหล่านั้นที่ด้อยการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ และช่วยชี้ให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของการศึกษา อีกทั้งยังเป็นการร่วมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุก และมีสีสันให้เด็กๆ รู้สึกสนุกไปกับการศึกษา มีการร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาของเด็กๆ และมาช่วยเพิ่มให้กำลังใจคุณครูที่ประจำอยู่ที่นั้นว่ายังมีคนที่มีจิตใจอาสาเช่นเดียวกับพวกเค้าอยู่อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกัน อาสาสมัครเองก็จะได้เรียนรู้ถึงปัญหาในด้านการศึกษาของเด็กเหล่านั้นว่ายังมีเด็กๆ อีกจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดแคลนด้านการศึกษา ซึ่งถ้าสังคมเรานั้นมีคนที่มีจิตใจอาสา ก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาการก่อปัญหาให้กับสังคมได้ และนำไปสู่แนวทางในการคิดที่จะช่วยกัน และให้ความร่วมมือกันที่จะพัฒนาการศึกษาของเด็กๆ ที่ด้วยโอกาสเหล่านี้ให้มีการพัฒนามากขึ้นอีกด้วย
ทำไมต้อง ครูนอกบ้าน
ความหมายแรก คือพวกเราคือครูที่สอนเด็ก ๆ ชายขอบของการศึกษา ที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา ต.แม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งจริง ๆ แล้ว ยังมีเด็ก ๆ ชายขอบการศึกษาอยู่อีกมากมายหลายที่ ที่ต้องการทั้งโอกาส และแรงบัลดาลใจ เราจึงต้องออก “นอกบ้าน” เพื่อเดินทางไปหานักเรียน
ความหมายที่สอง แทนกลุ่มครูอาสา จากหลากหลายที่ หลากหลายอาชีพ ที่เดินทางออก “นอกบ้าน” พร้อมความเชื่อที่ว่า เราทุกคน สามารถเป็นครูให้แก่กันละกัน เอาความรู้ เอาเรี่ยวแรง เอาความถนัดที่มีมาถ่ายทอด และแบ่งปันให้กับเด็ก ๆ และชุมชน
เรามีวิธีการเลือกอย่างไร? ในการทำกิจกรรม กับพื้นที่ต่างๆ
จริง ๆ จะว่าเราเป็นคนเลือกชุมชนมันก็ไม่ใช่ซะทีเดียว … บางทีชุมชนก็เลือกเรานะ เช่นว่าชาวบ้านเห็นเราไปทำที่อื่นมันเป็นอย่างนี้นะ ก็มาชวนเราไปให้ไปทำที่หมู่บ้านของเขา แต่ว่าหลักๆในการเลือกพื้นที่ ชุมชนเขามีความพร้อมที่จะต้อนรับแบบว่าให้พวกเราไปอยู่ที่บ้านมั้ย เพราะเราจะให้ครูอาสาไปอยู่กับชาวบ้านกับชุมชน เราไม่ได้ไปอยุ่เกาะกลุ่มกันที่เดิม กินอยู่ด้วยกันอะไรงี้ ถ้าชาวบ้านมีความพร้อมให้ครูอาสาไปอยู่ได้อันนี้คือระดับหนี่งเราคิดว่าชุมชนนั้นพร้อมที่จะให้ครูจะเข้าไปแล้ว
ส่วนที่สองดูว่ามีอะไรที่น่าจะที่ทำครูบ้านนอกจะเข้าไปทำได้บ้างมั้ย ไม่ใช่จะเข้าไปเที่ยวเนอะแต่ว่าเข้าไปแล้วจะต่อยอดกิจกรรมได้ในอนาคต เช่น เราไปหมู่บ้านที่ทำกาแฟ จริงๆครั้งแรกเราก็สนใจชุมชนนะ เพราะว่าเราสนใจว่ามีความเข้มแข็ง ที่จะตั้งกลุ่มอะไรขึ้นมาได้ อันนี้เราเห็นล่ะ สิ่งต่อมาก็คือเราเข้ามาแล้วมันน่าจะมีอะไรมาให้เราทำต่อในระยะยาว หลังจากที่เราคุยกับชุมชนเขามีความต้องการแบบนี้นะ แต่เขาไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง เหมือนทำผลิตภัณฑ์ โปรดักของตัวเองทำโฮมสเตย์อะไรพวกเนี่ย ซึ่งเขามีทรัพยากรเขามีกิจกรรมแต่เขาไม่มีคนมากรุ๊ปมาชี้แนะ ว่าควรจะทำยังไงจะเริ่มยังไง อย่างบ้านผาแดงชาวบ้านอยากจะทำเขามีความพร้อมทั้งด้านของกิจกรรม เรื่องของชุมชนแต่ว่า เขาจะมีปัญหาเรื่องของใช้สื่อมั้ง การใช้สื่อในการทำให้มันเกิดขึ้น ซึ่งครูนอกบ้านก็จะตอบโจทย์คนที่เขาไปก็จะมีความสามารถในเรื่องอขงการใช้สื่อ การใช้เทคโนโลยีในเรื่องของการช่วยโปรโมท ช่วยทำและก็บางคนก็เป็นคนที่ทำสาขานั้น พอเข้าไปเห็นมันก็จะตรงกับสิ่งที่เขาสนใจ เราก็แค่ไปจับคู่เขาอะไรประมาณนี้
คนแบบไหนที่มาครูนอกบ้าน แล้วพวกเขาเหล่านั้นได้อะไรกลับไป...
อันที่หนึ่ง กินง่ายอยู่ง่าย ปรับตัวเข้ากับชุมชนได้ ทิ้งมือถือได้ ไม่ใช่ว่าไม่มีไฟฟ้าไม่มีสัญญาณโทรศัพท์แล้วไปไม่ได้ ไม่ได้จำกัดวุฒิการศึกษาหรืออายุเป็นเด็กก็มาได้ ถือว่าเป็นการศึก การเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ปกครองและก็เด็กมาสอนลูกของตัวเองอย่างนี้มันดีนะ และก็มาสอนที่มันเป็นวิถีชีวิตที่เด็กๆจะสัมผัสได้โดยไม่มีการปรุงแต่ง ถ้าอยู่ในเมืองใช่มั้ยที่แบบจะดูแลลูกแบบดีมาก ไม่กล้าให้ลูกลำบาก ไม่กล้าปล่อยลูก แต่ว่าบางทีคนที่มาอย่างนี้พ่อแม่ก็จะเห็นลูกของชาวบ้าน ชาวบ้านเลี้ยงลูกยังไงบางทีมันก็ทำให้มุมมองของผู้ปกครองเปลี่ยนไปและก็ได้คลุกคลีกับชุมชนที่เป็นวัยของเขาแบบธรรมชาติจริงๆ
อย่างน้อยนะพี่คิดว่าสิ่งที่เขาจะได้ไป เป็นเรื่องของมิตรภาพระหว่างคนที่มาด้วยกันเองเพราะว่าคนที่มาแบบนี้ มีใจที่พร้อม ทุกคนพร้อมที่จะมาทำแล้ว แต่ว่าบางทีมันก็กระจายไปอยู่ที่ต่างๆเวลาเขามาอย่างน้อยเขาได้สังคม ได้กลุ่มคนที่แบบมีจิตอาสามีหัวใจเหมือนกัน มีสิ่งที่อยากจะทำบางสิ่งบางอย่างเหมือนกัน เรื่องที่สองน่าจะได้เกี่ยวกับสัมผัสวิถีของชุมชนของกลุ่มคน เพราะบางคนโดยส่วนใหญ่ตั้งใจอยากจะให้อย่างนั้นอย่างนี้นะ มาให้นะ แต่สุดท้ายแล้วหลายคนก็บอกว่าสิ่งที่เขาให้อะนิดเดียว นิดเดียวถ้าเทียบกับสิ่งที่เขาได้รับกลับไปจากชุมชน อาจจะไม่ใช่สิ่งของนะ อาจจะเป็นเรื่องของความคิดเรื่องของมิตรภาพ เรื่องของหลายสิ่งหลายอย่าง กลายเป็นว่าบางครั้งเขาไม่ได้มาเยียวยา ได้มาเยียวยาบางสิ่งของตัวเองบางคนเพราะว่าอาจจะมีปัญหามา แต่ถ้าว่ามาอย่างนี้ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายรู้สึกมีความสุขกับกิจกรรมเหมือนสโลแกนของเรา ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งแบ่งปันยิ่งได้รับ