นางสาวอาภัสรา สุวรรณคาม (ครูมิ้นทฺ์)
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเติบโตของฉัน ตลอดการฝึกงาน 4 เดือน 18 สัปดาห์ 124 วัน
...จากเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่เคยสอนน้องให้อ่านหนังสือ สอนให้น้องเรียนหนังสือ ให้น้องมานั่งเป็น นักเรียนแล้วตัวเองก็สอน จนขึ้นในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังคงชอบในสายงานนี้อยู่ จากความรู้สึกในวันนั้นทําให้ ริวรู้สึกชอบมาก ๆ กับการที่เราอยากเป็นครูสอนนักเรียนสักครั้งหนึ่ง ขึ้นปี 4 ถึงเวลาที่จะต้องออกไปใช้ชีวิตซึ่ง เป็นเสมือนการทํางานจริง ๆ ในชีวิตของริว ครั้งแรกก็ลังเลใจอยู่ระหว่างเกาะสมุยกับศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา แต่ก็ได้รับคําแนะนํามาจากอาจารย์ในหลักสูตร ก็เลยลองดู ลงสมัครเพื่อที่จะมาฝึกงานที่ศูนย์การเรียนไร่ส้ม วิทยา จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งแรกที่รู้ว่าตัวเองติด 1 ใน 8 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากพี่เจ้าหน้าที่ แล้วก็บอกทาง บ้านว่าจะไปฝึกงานที่ไร่ส้มเชียงใหม่ ทางบ้านก็ไม่ได้ติดอะไรมาก ชอบสันบสนุนให้ได้ลองอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ วันเวลาก็ผ่านไปออกเดินทางจากจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดเชียงใหม่กับระยะทาง 1,789 กิโลเมตร ด้วยรถไฟชั้น 2 แบบด่วนพิเศษ ทุกคนอาจจะมองว่าทําไมต้องนั่งรถไฟให้เหนื่อยด้วย 555 ริวชอบการผจญภัยอยู่แล้วเนอะ ก็เลยอยากลองดูสักครั้งกับการเดินทางตัวคนเดียว
วันแรกที่ได้ก้าวเข้ามาในศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา ถือว่าเป็นอีกสถานที่หนึ่งเลยที่ริวคิดว่ามันควร จะต้องมีคนมาฝึกงานเยอะกว่านี้ เพราะด้วยจํานวนของเด็กนักเรียนที่นี่นั้นเยอะพอสมควร ซึ่งครูแต่ละคนก็ ต้องรับผิดชอบนักเรียน 20-30 คนเลยนะ ริวเดินทางมาที่นี่ ก็จะได้ชื่อขนานนามจากเด็ก ๆ ว่า “ครูริว” เริ่ดนะ เด็ก ๆฉันว่าครูริวด้วยระยะเวลาช่วงแรกเป็นการสังเกตการณ์สอนของชั้นป.1/1ซึ่งได้ครูแอ้เป็นพี่เลี้ยงในการ สอนงาน รักครูแอ้มากๆ ที่สอนงานทุกอย่างให้กับริว ผ่านไป 1 สัปดาห์เข้าสู่การจับฉลากครูประจําชั้นกับครูพี่ เลี้ยงของตัวเองกันแล้ว ครูริวก็ได้เลื่อนจากชั้นป.1 ขึ้นไป ป.4 กันเลยทีเดียว ซึ่งก็ได้ครูเอ๋ เป็นพี่เลี้ยงคู่กัน วัน แรกๆ เลย ครูเอ๋ก็ได้ให้ริวได้พบปะกับนักเรียนที่ประจําชั้นด้วยกัน ได้ทําความรู้จักกับพวกเขาและพร้อมท่จี ะ ดูแลพวกเขาให้ได้มากที่สุดตลอดระยะเวลา 4 เดือนนี้ สิ่งที่ริวประทับใจมากๆ กับการได้มาทํางานที่นี่ คือ ริวได้ ลองโชว์ศักยภาพของตัวเองในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสอนนักเรียนในรายวิชาภาษาไทยรายวิชาอื่นๆ การได้ลองเป็นพิธีกรในงานต่างๆ ของโรงเรียนและทั้งได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมการแสดงให้กับนักเรียนไร่ส้มอีก ด้วย
ทั้งนี้ ริวยังประทับใจอีกหลายๆ อย่างด้วยเช่นเดียวกัน รวมไปถึงตัวของเด็กนักเรียนเช่นกัน นักเรียนสอน ครู ครูสอนนักเรียน บางอย่างที่คนเป็นครูอย่างเราก็คาดไม่ถึงว่าพวกเขาจะทํามันได้ ไม่ว่าจะด้วยเรื่อง การ ดํารงชีวิตของเขาด้วยการจับปูหาปลา การช่วยงานครูในด้านการซ่อมแซมต่างๆ และอื่นๆ อีกเยอแยะไปหมด เมื่อไหร่ที่เด็กๆ เห็นว่าครูริวไม่มาโรงเรียนหรือมาโรงเรียนสาย นักเรียนก็จะไปตามครูริวที่บ้านทันทีด้วยความ เป็นห่วง พวกเขาจะไปบอกตลอดเลยว่า “ครูริวครับ วันนี้ครูไม่สบายหรอค่ะครู” บางวันก็มาหาครูในช่วง วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เด็กๆ ในห้องจะมอบดอกไม้ช่อสวยๆ ให้กับครูริวอยู่เป็นประจํา มอบข้อมือดอกไม้ที่ทํา ด้วยใจนํามามอบให้ครู บางครั้งครูริวไปไหนมาไหนหลายวันก็จะมีการ์ดหรือสิ่งของนํามาให้ครูตลอดเลยอ่ะ “พวกหนูรักครูริวนะคะ” คําพูดของเด็กคํานี้ จะได้ยินอยู่ตลอดทุกวันเลย
พี่เอ๋ ถือว่าเป็นพี่เลี้ยงที่ดีของริวอีกคนหนึ่งเหมือนกันแล้วก็เป็นพ่อริวไปด้วยอีกคนหนึ่ง “พี่เอ๋หรือพ่อ เอ๋”ที่ครูริวมักจะเรียกขานอยู่เสมอ จะคอยสอนงานทุกอย่าง ทุกอย่างจริงๆ ที่เขาจะถ่ายทอดให้หมดหน้าตัด เลยก็ว่าได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ริวเคยสังเกตพี่เอ๋มาตลอดคือ พี่เอ๋จะเป็นคนที่ทํางานอะไรแล้วจริงจังกับงานมากๆ เป็น คนที่ทุ่มเทกับงานเป็นที่สุด ริวถือเป็นคนหนึ่งเลยที่ไม่เคยได้ลองทําอะไรมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องไม้
เครื่องมือในการซ่อมแซมอาคารเรียน เช่น สว่าน คีม อื่นๆ มาอยู่ที่นี่ครูริวก็สามารถเป็นช่างได้เหมือนกันนะ 555 และอีก 1 งานที่อยากจะบอกคือ งานเกษตร เป็นงานขุดๆ เจาะๆ พรวนดินในท้องทุ่ง ถือว่าเป็นอะไรที่ เด็ดจริงๆ กับการจับจอบถางป่า ถางหญ้า ปลูกผักและอื่นๆ อีกสารพัดอย่าง บอกได้เลยว่า ริวทําทุกอย่างได้ เพราะพี่เอ๋จริงๆ งานไหนที่คิดว่าตัวเองทําไม่ได้ พี่เอ๋ก็จะคอยบอกตลอดว่าทําแบบไหนอย่างไร จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแค่ความรู้สึกสั้นๆ ที่อยากจะถ่ายทอดให้ทุกคนได้รู้จักศูนย์การเรียนไร่ส้ม วิทยามากขึ้น เพราะนักเรียนที่นี่เขามีความน่ารักที่แตกต่างกันออกไปในแบบฉบับของตัวเอง เด็กๆ เหล่านี้เขา ไม่ใช้คนไทยโดยสิ้นเชิง แต่พวกเขาคือกลุ่มเด็กนักเรียนชายขอบที่ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเมียนมาร์ (พม่า)ไทใหญ่ปะล่องดาราอั้งหรือแม้แตย่างพวกเขาไม่ได้รับสิทธิใดๆเลยในประเทศไทยจะเข้าโรงพยาบาล
ในแต่ละครั้งก็ต้องเสียสตางค์ไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ ที่พวกเขาได้เข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยเพราะภัยศึกสงครามที่เกิดขึ้น ในบ้านเกิดของเขา พวกเขาจึงเอาตัวรอดด้วยการหนีตายมาหวังพึ่งประเทศไทยเราซึ่งมีชายแดนเป็นประเทศ เพื่อนบ้านกันนั้น
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนกลุ่มนี้จะต้องอดทนอีกเพียงใดหรือพวกเขาจะต้องได้รับสิทธิใด เหมือนกับคนไทยบ้าง เพียงแค่พวกเขาได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน พวกเขาก็คงดีใจแล้ว นี่คือทั้งหมดที่ “ริวหรือครูริว” อยากจะถ่ายทอดเรื่องราวให้ทุกคนได้ฟัง....
******************
ครูนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา
นายพสธร รักเมือง ครูริว
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เรื่องเล่า การเติบโตของฉัน ตลอดการฝึกงาน 105 วัน
การเดินทางของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่เคยก้าวออกจากความผิดพลาดของตนเอง ในวันนี้ได้เริ่มก้าวผ่านความทรงจำในวันนั้นได้อีกครั้ง เรามักบอกทุกคนเสมอว่าเราเป็นครูไม่ได้ เราไม่อยากให้ใครก็ตามเรียกเราว่าครู หากย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เราเคยเลือกสอบเข้าคณะศึกษาศาสตร์ แต่ด้วยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในวันนั้น ทำให้ความฝันของคนครอบครัวพังลง เราทำลายความคาดหวังของพวกเขา จนเรากลัวความผิดพลาดตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้
ในวันที่เราตัดสินใจเลือกฝึกสหกิจศึกษาที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา เราตั้งใจและหาข้อมูลมาพอสมควร ในตอนนั้นมีรุ่นพี่คนหนึ่งบอกให้เราลองดู “เคยอยากเป็นครูไม่ใช่เหรอ ทำไมไม่ลองดูละ ถ้าไม่ลองวันนี้แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ายังอยากเป็นครูอีกไหม” แล้วความคิดของเราก็บอกให้เลือกมาที่แห่งนี้ เพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าความฝันที่เคยทิ้งไปในอดีต ที่ฝังอยู่ใจทุกครั้งที่พูดถึงนั้น จะกลับมาเป็นความฝันที่เรากำลังตามหาได้อีกหรือเปล่า
ตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาในศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาจนถึงวันนี้ เรารู้สึกขอบคุณตัวเองที่กล้าตัดสินใจในวันนั้น และขอบคุณพี่ ๆ ประสานงานทุกท่านที่รับเราเข้าฝึกสหกิจ ในช่วงแรกเรายังปรับตัวไม่ค่อยได้ แต่เราไม่ได้ไปเร่งตัวเองว่าต้องปรับตัวให้ได้ทันที แต่เราเลือกที่จะใช้เวลาในการเรียนรู้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวของเรา เราเรียนรู้หน่วยงาน องค์กร ปกครอง และเด็ก ๆ จนวันนี้เรารู้สึกดีที่ความกลัวในวันนั้นมันไม่มาหาเราอีกแล้ว
สำหรับ 105 วันที่ผ่านมานั้น เราขอบคุณครูสายลมที่คอยสอนและให้แนวคิดมุมมองบางอย่างที่ทำให้เรานึกคิดได้ เรารู้สึกประทับใจกับการสอนในรูปแบบเชิงวิชาการบูรณาการกับการพัฒนาทักษะอาชีพ ขอบคุณครูเอ๋และพี่โอ๋ ที่คอยสนับสนุนทุกก้าวของการฝึกสหกิจ เรารับรู้ถึงความรู้สึกที่เหมือนของคนในครอบครัวให้ทุกครั้งที่ได้เจอ ได้พูดคุย ทุกครั้งที่เราไปบ้านครูเอ๋ เราจะเดินออกมาอย่างสดใสเสมอ ขอบคุณครูซันพาร์ทเนอร์ที่คอยสนับสนุน และซับพอร์ตเราในทุก ๆ การตัดสินใจ ถึงแม้จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่เราต่างไม่เข้าใจกัน จนทำให้เราเผลอทิ้งช่วงเวลาบางอย่างไป และขอบคุณเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่น่ารักกับเราตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ ทุกครั้งที่เราสอนเด็ก ๆ เราตั้งใจสอนด้วยความจริงใจ ในช่วงแรก ๆ เด็กหลายคนมีกำแพงที่ดูสูง จนเรารู้สึกว่าตัวเราไม่มีทางข้ามกำแพงเหล่านั้นไปได้ แต่ในวันนี้มีเด็กหลายคนบอกกับเรามาตลอดว่า “ผมสนิทกับครูจ๋านะ” “ครูไม่เหมือนครูคนอื่นที่ผ่านมา” “ทำไมครูถึงให้ใจพวกหนูเยอะขนาดนั้นคะ” “หนูรักครูจ๋า” “พวกเราไม่อยากให้ครูกลับ” ประโยคที่ความหมายดูเล็ก แต่ความรู้สึก สีหน้า แววตา การกระทำ ตอนพูดประโยคเหล่านี้ มีความหมายมาก ๆ สำหรับเรา
นางสาวเนตรชนก ชูทอง คณะวิทยาการสื่อสาร สาขานิเทศศาสตร์ แทร็ควารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ฝึกงานฝ่ายสื่อสารองค์กร
ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 - วันที่ 8 มีนาคม 2567
นางสาวเนตรชนก ชูทอง (ครูจ๋า)
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การเติบโตของฉันตลอดการฝึกงาน
สวัสดีครับผม นายศุภวัฒน์ สาดีน เป็นนักศึกฝึกงานฝ่ายการศึกษา ที่นี้เป็นเป้าหมายอีกหนึ่งที่ ที่ผมอยากมาสักครั้งเพราะฟังรีวิวจากรุ่นพี่ ตอนสัมภาษณ์ก็นึกอยู่ว่าจะมาดีไหมเพื่อนผู้ชายก็ไม่มีเลยสักคนจะอยู่ได้ไหมกังวนกับตัวเองจนประกาศผลรายชื่อ ที่บ้านก็บอกว่าฝึกเชียงใหม่ไกลนะ ผมก็ตัดสิ้นใจออกจากบ้านมาพร้อมกับความมั่นใจว่ามาครั้งนี้ต้องหาประสบการณ์กลับไปให้ได้มากที่สุด และมาพร้อมกับเพื่อนวินที่มาด้วยความตั้งใจเหมือนกัน
เมื่อถึงการสอนครั้งแรกด้วยความที่เราก็ไม่ได้เป็นเรียนครู ก็มีความกังวนว่าจะทำไงดี ก็ด้วยความไม่ชินกับสถานที่ใหม่ แต่เด็กที่นี้เห็นได้ชัดว่าเคยเข้าสังคมกับคนอื่นมาเยอะมากเพราะมีความกล้าแสดงออก มีการตัดสินใจที่ดี ผมชอบครั้งแรกที่เจอกันและนั่งวงคุยแนะนำตัวแล้วทำไมนักเรียนถึงมาเรียนที่นี้ ทำไมผมถึงมาฝึกงานที่แห่งนี้ ในช่วงแรกๆด้วยความตื่นเต้นด้วยความรักที่จะเรียนรู้ก็พยายามหากิจกรรมต่างๆมาเล่นกับนักเรียน มาปรับใช้ในการเรียนการสอน
สิ่งที่ผมประทับใจตลอด 4 เดือน
- ผมได้พาเครื่องตัดผมมาใช่ประโยชน์ได้ ได้ตัดผมให้เด็กๆ ได้เห็นที่นักเรียนชอบแล้วมาตัดอีก แล้วสอนให้ทองชอบตัด นักเรียนก็ชอบในด้านนี้ แระได้มีวิทยากรมาสอนยิ่งทำให้นักเรียนพัฒนาขึ้นไปอีก
- ผมดีใจในกิจกรรมลอยกระทง ตัวแทนของห้องป.6 เป็นตัวแทนไปแข่ง 2 กลุ่มและได้ที่3กับชมเชย ที่ผมดีใจคือการได้เห็นความตั้งใจของนักเรียนความพยายาม
- การไปครูนอกบ้าน ไปอยู่กับธรรมชาติที่ไม่มีสัญญาณ ไปอยู่กับคนในชุมชนที่น่ารัก ไปเรียนรู้วิธีชีวิตของคนบนดอย
- การพาเด็กออกวิ่ง เหมือนเห็นเด็กมีความสุขกับการวิ่งการได้ออกนอกสถานที่รอยยิ้ม
- การไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศูนย์ลูกหญิง ทำให้เราได้เห็นอีกมุมมองของเด็กชายขอบที่มีความตั้งใจในการเรียนรู้
- การทำกาแฟจากเมืองจ๋อมแล้วอบรมการทำการแฟ เพราะผมก็มีความใฝ่ฝันว่าอยากเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเอง
- ได้ลงพื่อนที่ไปเจอศิษย์เก่าที่เคยศึกษาที่นี้
- ได้ลงพื้นที่ไปเห็นบ้านเด็กนักเรียนการเป็นอยู่
- ได้เจอครู เอ อบรมคือที่สุดแล้วครับสนุกมากๆๆได้เข้าใจถึงประโยชน์ของเด็กมากขึ้น
- การได้รู้จักเพื่อนใหม่ กลุ่มนกเสรี เพื่อนฝึกงานงานจากต่างสถาบันละคนละคณะ ขอบคุณ จ๋า อาร์ ริว นีน่า มิ้น สกาว พี่พัชชา พี่เจนนี่ เพราะทุกครั้งที่เราหมดกำลังใจมาคนที่เรากล้าพูดก็คือเพื่อนๆ ที่ค่อยปลอบใจ ค่อยกอดกันเสมอ
- โครงการต่างๆที่ผมได้เรียนรู้ที่นี้ผมชอบมากเลยครับ เหมือนได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง
- ชอบที่ได้คุยกับผอ.เรื่องจบไปจะทำอะไร
- ชอบที่ได้คุยกับครูเอ๋ ประวัติชีวิตครู
- ชอบที่เรื่องไม่สบายใจยังมีครูสายลมคอยรับฝังไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจอปัญหาการเรียนในห้อง หรือการเจอคำพูดลบๆมาแทงใจดำ ก็ทำให้ผมสบายใจขึ้น
- ขอบคุณครูปุ๋ยคอยให้กำลังใจนักศึกษาตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายครูปุ๋ยยังน่ารักเหมือนเดิม
- ขอบคุณครูแอ้ ครูโอ๋ ครูสัน ที่เวลาหิวก็จพาออกไปข้างนอก
- ขอบคุณสถานที่แห่งนี้ที่สอนให้เราเติมโตขึ้นจริงๆว่าการอยู่ในสังคมเราต้องปรับตัวให้ได้ เพราะทุกครั้งที่ผมอุปสรรคมาได้ก็ทำให้เราเติบโต
- และบางครั้งเราเหนื่อยมากเราต้องการผ่อนคลาย ถึงแม้บ้างครั้งวันเสาร์-อาทิตย์ก็ไม่ได้หยุดเลยเพราะเรื่องต้องเข้าใจในหน่วยงานและยอมรับ ขอบคุณคุณครูสายลมที่มีวันหยุดให้พักผ่อนไม่ต้องสอนขอบคุณครับ
ข้อเสนอแนะ
ผมคิดว่าอยากให้ครูฝึกสอนได้สอนเปลี่ยนห้องบ้าง เพราะบางครั้งผมก็อยากเปลี่ยนประสบการณ์เจอเด็กห้องอื่น ได้สอนเด็กห้องอื่น คงป็นเพราะเคสที่ผมเจอ การที่ผมใส่ใจเด็กมากเกินไป พยายามเข้าใจเข้า กลับทำให้เด็กรำคาญ ผมเลยเลือกที่จะเงียบและไม่ใช่อารมณ์กับเด็กนักเรียนเพราะผมอยากสอนแบบที่เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย และเรื่องนี้ผมก็ เล่ากับครูสาย กับผอ.ฟังว่าเจอเคสแบบไหนมา
อยากให้ชี้แจ้งเรื่องของใบลาออกนอกสถานที่ ตั้งแต่วันนิเทศให้ชัดเจนเพราะกลัวว่ารุ่นน้องที่มาฝึกงานที่หลังจะโดนด้วย ผมคิดว่าบอกพี่เลี้ยงก็ออกมาได้เลย พอถึงเชียงใหม่ขอใครบอกใครมีใบรับรองไหมเกิดขึ้นมาใครรับผิดชอบ เป็นบทเรียนคราบ
และอยากให้พี่เลี้ยงสนิทกับนักศึกษาฝึกงานเพราะบ้างครั้งความเกรงใจกับความกลัวก็เป็นเส้นบางๆที่กั้นเอาไว้ (มองภาพรวมของเพื่อนนะครับอันนี้) เพราะเห็นเพื่อนซึ่งบ่อย
นายศุภวัฒน์ สาดีน (ครูซัน)
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นางสาวนัสตีย์วิน มามะ (ครูวิน)
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นางสาวชนัญชิดา ไชยบุญเรือง (ครูสกาว)
สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาพะเยา
การเติบโตของฉัน
เส้นทางของเด็กคนหนึ่งที่ต้องเดินทางไกลถึงเหนือเพื่อมุ่งสู่เส้นทาง เป้าหมายที่ตนได้เลือกไว้อย่างไม่ลังเล ที่จะเลือกสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สุดท้ายในการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย คือ ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา มูลนิธิ กระจกเงา สำนักงานฝาง จ.เชียงใหม่
เริ่มจากการเดินทางไกลจากใต้สุดสยามมาถึงภาคเหนือ นับเป็นการเดินทางที่ท้าทายตัวเองเป็นอย่างมาก หากเพราะเคยเดินทางมาแล้วหลากหลายรูปแบบ แต่การเดินทางครั้งนี้ต่างจากที่เคย อาจจะเพราะทุกครั้งที่เดิน ทางไกลจะมีคนรอบข้าง เพื่อน หรือญาติพี่น้องอยู่เสมอ แต่ครั้งนี้นับเป็นการเดินทางคนเดียวในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ในระหว่างทางคำถามที่ผุดในใจซ้ำ ๆ ว่า เป้าหมายที่เราจะไปนั้นคือคำตอบของการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับเรา แล้วหรือไม่ แต่นึกขำออกมาในใจ เพราะคำถามนี้ตัวเราเองก็ยังตอบไม่ได้
ช่วงเวลาที่ก้าวเข้าสู่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา เป็นช่วงเวลาที่รู้สึกโดดเดี่ยวเล็กน้อย อาจด้วยความเคยชินที่ ทุกครั้งจะมีเพื่อนคอยไปไหนด้วยกันอยู่ตลอด แต่ครั้งนี้นับเป็นการเริ่มใหม่กับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยทำงานอย่าง เต็มตัว ความประทับใจแรกที่ได้มาอยู่คงไม่พ้นนักเรียนตัวน้อย ๆ ที่ไม่เคยเห็นหน้าคร่าตา แต่ทักทายด้วยอัน ไพเราะว่า “สวัสดีครับครู” ในยามเช้าที่เราเพิ่งจะตื่นลงมาอาบน้ำ ตลอดการได้อยู่กับเด็ก ๆที่นี่ นับเป็นการเรียนรู้ ใหม่มาก ๆ เพราะจากเด็กนิเทศศาสตร์ที่ไม่เคยได้สอนหนังสือเด็กอย่างจริง ๆ จัง ๆ ก็ได้ทำในทุก ๆ วัน การมาที่นี่ ไม่เพียงแต่เราที่ให้ความรู้แก่เด็ก ๆ แต่กลับกันเด็ก ๆ เหล่านี้เป็นครูให้กับเราในหลาย ๆ เรื่องเช่นเดียวกัน ปัญหาที่ เราเคยพบเจอในภาคใต้ที่เราอยู่นั้น ความยากลำบากมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่จะเห็นได้ว่าเด็ก ๆ มีความ เข้มแข็งกันอย่างมาก ด้วยสภาพแวดล้อม ปัญหาที่เราได้พบเจอนั้น ทำให้เราเองได้เข้าใจในตัวเด็ก ๆ มากขึ้น
นอกจากการได้มาเรียนรู้สภาพแวดล้อมใหม่ สังคมใหม่ ๆ แล้ว เรายังมีโอกาสที่ได้ออกไปทำค่ายครูอาสา อย่างที่เคยพูดกับเพื่อนไว้ว่า อยากลองไปเป็นครูอาสาบนดอยสักครั้ง วันนี้เราได้ทำสิ่งนี้สำเร็จแล้ว
ขอบคุณตัวเอง ขอบคุณเด็ก ๆ ขอบคุณเพื่อนร่วมงาน และขอบคุณพี่ ๆ ที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาทุกคน ที่ทำให้เด็กคนนี้ได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง และได้เติบโตมาในหลากหลายความรู้สึก ทั้งสุข ทุกข์ กดดัน ท้าทาย ที่ได้มากกว่าในรั้วมหาวิทยาลัย
นางสาวอาติยะห์ สะนิ (ครูอาร์)
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี