- Category: บทความ
พื้นที่การเรียนรู้ : ไม่ใช่ขนาด อาณาบริเวณ ท้องที่ หรือ เนื้อที่ในเชิงกายาภาพ สิ่งที่เป็นหัวใจคือการได้เรียนรู้อะไร จากเหตุการณ์และช่วงเวลา ‘ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา’ ต.แม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ไม่ได้เป็นเพียงห้องเรียน ของเด็กๆเท่านั้น
หากแต่ครูก็ได้เรียนรู้บางอย่างเช่นกัน
ครูท็อป-อัฐ คงสงค์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานฝาง หรือ ครูอาสาศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาและเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วม โครงการ yong คศน. เล่าให้เราฟัง ถึงการพาตัวเองมาเป็นครูอาสา
“ ถ้าตอบโจทย์ตัวเอง สิ่งหนึ่งคือ เรามีความสุขทุกวัน เรามีรอยยิ้มที่มีความสุข มีเสียงหัวเราะที่สนุกสนานทุกวัน นั้นคือการตอบโจทย์การมีชีวิตอยู่แล้ว แต่ถ้า เรามองถึงว่าเราสร้างอะไรได้บ้าง ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเคยอ่านงานชิ้นหนึ่ง นักเขียน กล่าวไว้ว่า ‘ครูทั่วไปทำหน้าที่แค่บอกเล่า ครูที่ดีทำหน้าที่อธิบาย ครูที่เหนือกว่าคือครูที่ทำให้ดู แต่ครูที่ยิ่งใหญ่คือครูที่สร้างแรงบันดาลใจ’ ผมเชื่อว่าทุกคนจะทำงานอะไรมันต้องมีแรงบันดาลใจก่อน เพราะงั้น แรงบันดาลใจของผมคือ การสร้างเด็กที่จะเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ต่อ นั้นคือเป้าที่ผมมีชัดต่อเด็ก เมื่อเด็กเห็นว่าครูทำสิ่งนี้เพื่อเขา เขาจะมองว่าทำไมไม่ทำเพื่อตัวเองก่อน สมมติเขาเห็นว่าครูทำสิ่งนี้ให้เขา วันหนึ่งเมื่อเขาได้เรียนรู้ ถึงการที่คนอื่นสามารถทำอะไรเพื่อคนอื่นได้ วันนั้นเขาจะได้เรียนรู้ว่าตัวเขาเองก็สามารถทำเพื่อคนอื่นได้เช่นกัน”
- Category: บทความ
ในความเป็นมนุษย์ชีวิตหนึ่ง ในความเป็นเด็กคนหนึ่ง ที่อาจเป็นผู้เปลี่ยนแปลงโลกได้ในอนาคต เขาควรได้รับความเท่าเทียมกับเด็กคนอื่นในโลกใบนี้ไม่ใช่หรือในชีวิตเราปัจจุบัน เราพบเห็นผู้คนมากมายหลายอาชีพและหลายชนชาติยกตัวอย่างในภาคการเกษตรของประเทศไทย
ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันบางส่วนว่าแรงงานผู้ทำการผลิตในภาคเกษตรนั้นเป็นกลุ่มแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนมาก และแน่นอนว่าการเคลื่อนย้ายนั้นย่อมมิได้มาเพียงตัวคนเดียว กลุ่มแรงงานเหล่านี้ย่อมมีครอบครัว บุตรหลานและญาติพี่น้องที่อพยพเคลื่อนย้ายตามกันมาด้วย และเด็กกลุ่มนี้เองที่เรียกว่ากลุ่มน้อยที่ไม่มีโอกาสได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่างๆแล้วมันสำคัญอย่างไรกับการได้รับวัคซีนของเด็กกลุ่มนี้ในฐานะที่เป็นเด็กคนหนึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศของเราเขาควรได้รับการป้องกันโรคเช่นเดียวกับเด็กอีกกลุ่มที่เรียกกลุ่มใหญ่หรือไม่หากเด็กลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน จะมีผลกระทบอะไรกับประเทศเราบ้าง
- Category: บทความ
ความสงบจากภายในและการให้คุณค่าแก่สิ่งรอบกายเป็นสิ่งที่สำคัญของการเรียนรู้
ในโลกปัจจุบันที่มีแต่ความวุ่นวายแข่งขันแย่งชิงสภาพแวดล้อมที่ทำให้ทุกคนต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลากำลังสร้างคนรุ่นใหม่ที่ในรูปแบบใดได้บ้าง
เด็กรุ่นใหม่จะให้ความสำคัญกับธรรมชาติรอบกายในมุมมองใด และการศึกษาในปัจจุบันนำเราสู่หนใด?
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการเปิดเรียนปีการศึกษา 2561ที่นี่ ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา เป็นช่วงเวลาที่ครูทุกคนกำลังเตรียมงานใหญ่ส่งท้ายปิดเทอมและช่วงเวลานี้เองที่ผมใช้เป็นโอกาสในการฝึกให้นักเรียนของผมได้ทบทวนตัวเองด้วยการใช้ปัญญาสามฐาน ภายใต้กระบวนการที่ชื่อว่า “นี่คือฉันนั่นคือธรรมชาติ”
- Category: บทความ
เด็กๆ กว่า 130 คน ในศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา ตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ล้วนเป็นชนชาติพันธุ์ เป็นลูกหลานของแรงงานในสวนส้มนับพันไร่
โรงเรียนเล็กๆ แห่งนี้ก่อตั้งราว 3 ปีแล้ว โดยมี โอ๊ต-วีระ อยู่รัมย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาและมูลนิธิกระจกเงาเชียงราย เป็นหนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังสถานที่แห่งนี้
ไร่ส้มวิทยาออกแบบการศึกษาขึ้นบนเงื่อนไขชีวิตของเด็กๆ ในพื้นที่ เงื่อนไขที่ระบบการศึกษาไทยทั่วไปไม่สามารถโอบอุ้มพวกเขาไว้ได้ ไม่ว่าจะข้อจำกัดด้านภาษา อายุที่เกินเกณฑ์ กระทั่งเงื่อนไขชีวิตที่พวกเขาต้องรับหน้าที่ดูแลน้องๆ ขณะที่พ่อแม่ออกไปทำงานรับจ้างเพื่อหารายได้เลี้ยงปากท้องครอบครัว
เด็กๆ ในไร่ส้มซึ่งส่วนใหญ่คือชาติพันธุ์ไทใหญ่และดาราอั้ง การสื่อสารภาษาไทยจึงเป็นเรื่องยาก เริ่มตั้งแต่ผู้ปกครองที่ต้องสื่อสารกับครูเพื่อฝากลูกเข้าโรงเรียน หรือเด็กๆ ที่ต้องสื่อสารกับครูและเพื่อนๆ การสื่อสารจึงกลายเป็นอุปสรรคข้อแรกที่ทำให้พวกเขาไม่ได้เรียนหนังสือ
Read more: ‘ไร่ส้มวิทยา’ ความรู้กินได้ ในโรงเรียนเล็กๆ ของเด็กชายขอบ